ความคืบหน้าโครงการ
ภาระค่าไฟ :
4 ล้าน
บาท / ปี
33.75
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
โรงพยาบาลแก่งคอย
โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เมื่อ 60 ปีที่แล้วเป็นเพียงสถานีอนามัยเล็กๆ และได้พัฒนาจากศูนย์การแพทย์และอนามัยเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียงสู่ 61 เตียง รองรับการให้บริการและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่มากกว่า 50,000 คน ในปัจจุบันโรงพยาบาลแก่งคอยถือเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น และมีปริมาณที่สูงกว่าโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆในจังหวัดสระบุรี โรงพยาบาลแก่งคอย ประกอบด้วย แผนกผู้ป่วยนอก ห้องตรวจโรค แผนกเวชระเบียน แผนกทันตกรรม แผนกเวชปฏิบัติครอบครัว แผนกเภสัชกรรม แผนกรังสีการแพทย์ แผนกประกันสุขภาพ แผนกจิตเวช แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน อาคารโภชนาการ อาคารบริการขาเทียม การบริการกายภาพบำบัดและแพทย์ทางเลือก การบริการผู้ป่วยเรื้อรังและบ้านพักอาคารที่พักของบุคลากรของโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังเปิดบริการคลินิกพิเศษสําคัญๆ เช่น คลินิกโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน-โรคความดันโลหิตสูง) คลินิกโรคหอบหืด คลินิกโรคหัวใจ คลินิกโรคติดต่อทั่วไป ให้บริการด้านการตรวจสุขภาพแก่พนักงาน เขตอุตสาหกรรม การตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลแก่งคอย ปี 2560 เฉลี่ยเดือนละ 357,000 บาท ปี 2561 เฉลี่ยเดือนละ 370,000 บาท หากคิดตลอดทั้งปีโรงพยาบาลแก่งคอยต้องรับภาระค่าไฟฟ้าสูงถึงปีละกว่า 4 ล้านบาท ด้วยงบประมาณอันจำกัด โรงพยาบาลแก่งคอยกำลังพยายามรณรงค์และเดินหน้ามาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าไฟฟ้าได้ราวปีละเกือบ 2 แสนบาท การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปี และหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภาระค่าไฟฟ้าได้เ พิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว สามารถนำเงินที่ลดค่าไฟฟ้าได้ไปใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถในการบริการประชาชนอย่างเต็ม ที่ต่อไป
โรงพยาบาลหลังสวน
โรงพยาบาลหลังสวน เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 120 เตียง รับผิดชอบประชากรอำเภอหลังสวน และรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนในโซนใต้ของจังหวัดชุมพร ประกอบด้วยโรงพยาบาลละแม ,โรงพยาบาลพะโต๊ะ, โรงพยาบาลทุ่งตะโก และโรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน โรงพยาบาลหลังสวน ให้บริการผู้ป่วยนอก เฉลี่ยวันละ 450 คน ผู้ป่วยใน เฉลี่ยเดือนละ 850 คน เนื่องจากโรงพยาบาลหลังสวนเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ จึงรับส่งต่อผู้ป่วยจากอำเภอใกล้เคียงข้างต้น โดยมีประชากรในอำเภอต่างๆ ดังนี้ อ.หลังสวน ประชากร 73,348 คน, อ.ละแม 29,479 คน ,อ.พะโต๊ะ 24,036 คน ,อ.ทุ่งตะโก 25,268 คน และประชากรจากอำเภอสวีบางส่วน ด้วยขีดจำกัดทางด้านงบประมาณและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทางโรงพยาบาลหลังสวนจึงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายที่สา มารถทำได้ อย่างเช่น การประหยัดพลังงานและการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน เนื่องจากปัจจุบันภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลเฉลี่ยเดือนละราว 5 แสนบาท ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลมีศักยภาพในการติดตั้งโซลาห์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีอาคารบริการของโรงพยาบาลที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งและลงทุน มีบุคลากรอย่างเช่นช่างซ่อมบำรุงที่จะสามารถเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการร่วมติดตั้งและดูแลรักษา อีกประมาณ 8 คน มีนโยบายและคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นในการประหยัดพลังงาน และการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปี และหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภาระค่าไฟฟ้า ได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว
ภาระค่าไฟ :
6 ล้าน
บาท / ปี
36.48
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
ภาระค่าไฟ :
14 ล้าน
บาท / ปี
35.10
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
โรงพยาบาลชุมแพ
โรงพยาบาลชุมแพถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ปี 2525 ขยายเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จากนั้นได้มีการขยายขนาดการให้บริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันโรงพยาบาลชุมแพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 350 เตียง โรงพยาบาลชุมแพ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 82 กม. ตั้งอยู่ในจุดที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมสู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางมุ่งสู่กรุงเทพมหานคร และเส้นทางสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ได้รับการให้จัดสถานบริการเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อระดับเชี่ยวชาญ เพื่อรองรับผู้ป่วยส่งต่อจากเครือข่ายบริการทุติยภูมิ จำนวนประชากรรับส่งต่อจากอำเภอข้างเคียง ประมาณ 431,000 คน โรงพยาบาลชุมแพ มีโรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดขอนแก่น 6 แห่งประกอบด้วยรพ.สีชมพู รพ.ภูผาม่าน รพ.ภูเวียง รพ.หนองเรือ รพ.หนองนาคำ รพ.เวียงเก่า ส่วนนอกเขตรอยต่อคือรพ.น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ รพ.คอนสาร รพ.ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ รพ.ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นต้น การให้บริการประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา และสาขารองในบางสาขาที่จำเป็น โรงพยาบาลชุมแพยังมีแผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพงานบริการเพื่อรองรับกับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบบริการของกระทรวงสาธารณสุข 23 สาขา โดยจะมีการบริการขยายเป็นโรงพยาบาล ขนาด 350 เตียง เพื่อรองรับการบริการ โรงพยาบาลชุมแพมีภาระค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.2 ล้านบาทต่อปี จึงทำให้มีความต้องการ ความสนใจในการประหยัดพลังงาน และการพึ่งตนเอง
โรงพยาบาลชุมแพมีมาตรการด้านการลดการใช้พลังงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เห็นผลมากนักเนื่องจากโรงพยาบาลชุมแพกำลังพัฒนาและมีการขยายตัวเพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่ว ย ทำให้มีการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าของโรงพยาบาลชุมแพพบว่า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน หากมีการนำระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีปริมาณแสงแดดที่แรงจ ะช่วยให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าระบบเพื่อทดแทนพลังงานหลักที่ใช้อยู่ได้ จะทำให้โรงพยาบาลช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากระบบหลัก(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)ลงในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะเป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่อหน่วยสูง เนื่องจากโรงพยาบาลชุมแพ คิดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ ( Time Of Use Load ) TOU โรงพยาบาลชุมแพ ได้จัดเตรียมความพร้อมในการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) บน หลังคา โดยมีสถานที่ในการติดตั้งอยู่หลายอาคาร อาทิ อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (เดิม) เป็นอาคาร 2 ชั้น , อาคารคนไข้ใน 30 เตียง (เดิม) เป็นอาคาร 1 ชั้น ปัจจุบันปรับปรุงและจัดให้บริการด้านกายภาพบำบัด ฝังเข็ม และขาเทียมพระราชทาน หรือ อาคารผู้ป่วยใน 60 เตียง (เดิม) เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นต้น โรงพยาบาลชุมแพ มีความพร้อมในการระดมทุนเพื่อดำเนินการในด้านการอนุรักษ์พลังงานและลดการใช้พลังงาน หากเห็นว่ามีความคุ้มทุน (ค่าดำเนินการต่างทั้งค่าดำเนินการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน) และลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวต่อไป
โรงพยาบาลภูสิงห์
โรงพยาบาลภูสิงห์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง อยู่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นพื้นที่ติดชายแดนอยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ 85 กิโลเมตร มีแพทย์จำนวน 5 คน ดูแลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 9 แห่ง และหน่วยโรงพยาบาล 1 แห่ง รองรับการให้บริการประชาชนในพื้นที่อำเภอภูสิงห์กว่า 36,000 คน และรวมถึงประชาชนจากประเทศกัมพูชาด้วย ปัจจุบันพบว่าโรงพยาบาลมีการใช้พลังงานสูงและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีกในอนาคต ทำให้ ค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้นเนื่องจากโรงพยาบาลมีการขยายเพิ่มของอาคารและการพัฒนาส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้พลังงาน โดยในปี 2560 โรงพยาบาลมีภาระค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 150,000 บาทหรือ 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ในปี 2561 โรงพยาบาลมีภาระค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยเดือนละ 160,000 บาทหรือ 1.9 ล้านบาทต่อปี โรงพยาบาลจึงให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงานด้วยการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานง่ายๆ ที่ทำได้จริงและเห็นผลชัดเจน เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานและช่วยกระตุ้นให้บุคลากรขององค์กร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานและอาสาเข้ามามีส่วนร่วมช่วยอนุรักษ์พลังงานของหน่วยงาน มากขึ้น การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปี และหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภา ระค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว
ภาระค่าไฟ :
2 ล้าน
บาท / ปี
35.10
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
ภาระค่าไฟ :
3 ล้าน
บาท / ปี
35.10
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
โรงพยาบาลท่าสองยาง
เมื่อปีพ.ศ.2528 โรงพยาบาลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งพื้นที่อำเภอท่าสองยางติดชายแดน ประเทศพม่า ริม แม่น้ำเมย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงตามแนว ทิวเขาถนนธงชัย โรงพยาบาลท่าสองยางเริ่มก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10เตียง ต่อมาในปี พ.ศ.2534 มีการปรับปรุงจากโรงพยาบาลขนาด๑๐เตียง เป็นโรงพยาบาลขนาด30เตียง ได้ย้ายจากสถานที่เดิมมาดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่สาธารณะหมู่ที่1 ตำบลแม่ต้าน บนพื้นที่ 14ไร่ 2งาน ได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2539 และเนื่องจากการที่มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาอนุมัติให้โรงพยาบาลท่าสองยางปรับระดับสถานบริการ ปรับจำนวนเตียงและการเปิดสถานบริการจากจำนวนเตียง30เตียง เป็นโรงพยาบาลขนาด60เตียง โรงพยาบาลมีอาคารทั้งหมด 6หลัง ผู้ป่วยนอก 300รายต่อวัน ผู้ป่วยในนอนเฉลี่ย 60รายต่อวัน และเปิดให้บริการ 24ชั่วโมง 2อาคาร ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโรงพยาบาลท่าสองยาง 3,120,124 บาท และกำลังจะเปิดอาคารให้บริการผู้ป่วยอีก 1 อาคาร คาดว่าค่าไฟน่าจะเพิ่มขึ้นอีก 700,000บาทต่อปี โรงพยาบาลท่าสองยางมีศักยภาพในการรับการสนับสนุนติดตั้งโซล่าเซลล์ มีทีมช่าง ที่พร้อมสนับสนุนการติดตั้ง มีตัวอาคารที่เอื้อต่อการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์และผู้บริหารของโรงพยาบาลเล็งเห็นความสำคัญของการติดตั้งโซล่าร์เ ซลล์เป็นอย่างมาก เพราะสถานการณ์ทางการเงินของโรงพยาบาลอยู่ในความเสี่ยง ทางโรงพยาบาลต้องการลดรายจ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้า มีมูลค่าสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ การลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าจะทำให้โรงพยาบาลสามารถนำงบประมาณที่ประหยัดได้ไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพ ทางการแพทย์และการขยายการรักษาประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้มากขึ้น การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปีและหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภาระค่าไ ฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียวสามารถนำเงินที่ลดค่าไฟฟ้าได้ไปใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามาร ถในการบริการประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไป
โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม
โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง HYPERLINK “https://www.nhso.go.th/” รองรับการให้บริการและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ราว 30,000 คน และในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงให้บริการส่งต่อ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและเกินศักยภาพไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายซึ่งมีระยะห่างประมาณ 25-75กิโลเมตร โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม ประกอบด้วย คลินิกผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง คลินิกหญิงตั้งครรภ์และตรวจอัลตราซาวด์ โดยแพทย์ คลินิกหอบหืด คลินิกไทรอยด์ คลินิกถุงลมโป่งพอง และร่วมออกหน่วย ให้บริการที่ รพ.สต. คลินิกผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง คลินิกจิตเวช คลีนิคทันตกรรม และงานศูนย์สุขภาพชุมชน ให้บริการงานปฐมภูมิ งานสร้างเสริมสุขภาพ และงานบริการชุมชนเพื่อให้ผู้รับบริการทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และภาคีเครือข่ายมีการประสานงานที่ต่อเนื่องเข้มแข็ง ภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม ปี 2560และ2561 เฉลี่ยเดือนละกว่าแสนบาทต่อปี หากคิดตลอดทั้งปี โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดมต้องรับภาระค่าไฟฟ้าสูงถึงปีละกว่า 1 ล้านบาท ด้วยงบประมาณอันจำกัด โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม กำลังพยายามรณรงค์และเดินหน้ามาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าไฟฟ้า ทั้งการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศและ อุปกรณ์หลอดไฟที่ใช้ในโรงพยาบาล การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปี และหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภาระค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว สามารถนำเงิน ที่ลดค่าไฟฟ้าได้ไปใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถในการบริการประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไป
ภาระค่าไฟ :
1.5 ล้าน
บาท / ปี
30.00
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
ภาระค่าไฟ :
3 ล้าน
บาท / ปี
35.10
กิโลวัตต์
ประหยัด
200,000
บาท / ปี
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
โรงพยาบาลพระปกเกล้า ตั้งอยู่ที่ ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ให้บริการดูแลทั้งประชาชนชาวไทยและจากประเทศเพื่อนบ้าน โรงพยาบาลพระปกเกล้า ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2481 จากโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง ปัจจุบันขยายเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 755 เตียง มีนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ เป็นผู้อำนวยกาโรงพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีอาคารรักษาพยาบาลทั้งหมด 43 หลัง ให้บริการผู้ป่วยนอก1,903 รายต่อวัน ผู้ป่วยในนอนเฉลี่ย 671 รายต่อวัน และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลพระปกเกล้าปี 2561 รวม 38 ล้านบาทเศษ เฉลี่ยเดือนละ 3.2 ล้านบาท และอีกไม่นานจะเปิดให้บริการอาคารศูนย์ความเป็นเลิศด้านมะเร็ง เป็นอาคาร 10 ชั้น คาดว่าจะทำให้มีค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี การระดมทุนของกองทุนแสงอาทิตย์เพื่อติดตั้ง โซลารูฟท็อปหรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาอาคารให้กับโรงพยาบาลภายในเดือนธันวาคม 2562 โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ จะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลราว 200,000 บาทต่อปี แม้จะเป็นเงินไม่มากเมื่อเทียบกับค่าไฟฟ้าทั้งหมด แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะมีการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท้อปเพิ่มเติมต่อไป และหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วย จะช่วยให้โรงพยาบาลลดภาระค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว และสามารถนำเงินที่ลดค่าไฟฟ้าได้ไปใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถ ในการบริการประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไป