กองทุนแสงอาทิตย์

มารู้จัก Solar กัน

4 เรื่องที่ต้องทำความรู้จักกับ Solar

เศรษฐกิจโซลาร์เซลล์

จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 345หน่วยและจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ย4.01บาทต่อหน่วย (ข้อมูลปี2561 รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าปีละ 16,601 บาทหรือเดือนละราว1,400บาท ทั้งนี้ค่าไฟฟ้าครัวเรือนที่จ่ายคิดเป็นร้อยละ 5.8ของรายได้ครัวเรือน (รายได้รายปีของครัวเรือนทั่วประเทศ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงและต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเช่นถ่านหินเสียอีก ทั้งนี้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จะถูกลงมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นทางตำแหน่งภูมิศาสตร์ ขนาดของการติดตั้งและนโยบายของแต่ละประเทศเป็นต้น ข้อมูลการติดตั้งโซลาห์เซลล์จากโรงเรียนศรีแสงธรรมและแผนที่ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากโซลาห์เซลล์ทำให้สามารถคำนวณหาต้ นทุนไฟฟ้าเฉลี่ยยังไม่รวมคิดดอกเบี้ยและค่าบำรุงรักษา(ซึ่งน้อยมาก)จะเท่ากับ1.17บาทต่อหน่วย ดังนั้นหากรัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จากครัวเรือนของประชาชนในราคา 3.50 บาทต่อหน่วยก็จะทำให้เจ้าของบ้านมีรายได้ตลอดโครงการราว25ปีรวม 3.72แสนบาท ในขณะที่ภาคครัวเรือนซื้อไฟฟ้ารวมภาษีราว 4.01บาทซึ่งมาจากข้อมูลปี2560 ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในราคา2.63และ2.62บาท ต่อหน่วย(ตามลำดับ)และขายต่อให้กับครัวเรือนในราคาดังกล่าว การติดโซลาห์เซลล์บนหลังคาบ้านจะดูจากการใช้ไฟฟ้าของบ้านเฉลี่ย 1ปีที่ผ่านมาซึ่งเราจำเป็นต้องเก็บบิลค่าไฟฟ้าไว้เพื่อนำมาคิดก่อนติดตั้ง และดูว่าหลังคาบ้านและพื้นที่ของบ้านส่วนใดจะสามารถติดตั้งแผงโซลาห์เซลล์ได้คุ้มทุน ยกตัวอย่าง หากบ้านหลังหนึ่งจ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 2,300บาท ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 4.20บาทรวมภาษี จะพบว่าใช้ไฟฟ้าจำนวน 548หน่วย เราสามารถติดโซลาห์เซลล์ราว 3 กิโลวัตต์ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยเดือนละ 355 หน่วย หมายถึงบ้านหลังนี้สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละราว 1,491 บาท ปีละ 17,892บาท ทั้งนี้อายุของแผงโซลาห์เซลล์จะใช้งานได้นานประมาณ25ปี บ้านหลังนี้จึงลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 447,300 บาท ความคุ้มทุนในการลงทุนติดตั้งโซลาห์เซลล์นั้น ขึ้นอยู่กับค่าไฟฟ้าที่จ่าย คุณภาพของอุปกรณ์ที่ติดตั้งซึ่งต้องเลือกอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและผ่านการรับรอง จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ ทั้งนี้ประมาณการณ์คามคุ้มทุนของการติดตั้งโซลาห์เซลล์จะอยู่ที่ราว 5-8 ปี หลังจากนั้นปีที่ 9 เป็นต้นไปถือเป็นการใช้ไฟฟ้าฟรี

สิ่งแวดล้อมโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยผ่านกระบวนการเฉพาะทางเคมี ปัจจุบันมีการดำเนินการเช่นนี้ที่ประเทศอินเดีย และคาดว่าจะขยายไปยังประเทศต่างๆ ในอนาคต ซึ่งกระบวนการนำเอาวัสดุกลับมาใช้ซ้ำนี้ย่อมทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย จากการศึกษาของ International Renewable Energy Agency (IRENA) พบว่าในระยะยาวจะมีการสร้างโรงงานรีไซเคิลแผงโซลาห์เซลล์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีการประมาณการว่ามูลค่าจากการรีไซเคิลจะเพิ่มสูงขึ้นราว450ล้านเหรียญสหรัฐในปี2573และขยายตัวถึง1.5หมื่นล้านเหรี ยญสหรัฐในปี2593 แผงโซลาห์เซลล์จะมีแก้ว ซิลิคอน พลาสติก ทองแดง เงินซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลเป็นแผงใหม่ สำหรับแผงโซลาห์เซลล์คริสตัลจะประกอบด้วยแก้วร้อยละ65-75 อะลูมิเนียมของขอบแผงร้อยละ10-15 พลาสติกร้อยละ10และซิลิคอนร้อยละ3-5 International Renewable Energy Agency (IRENA) คาดการณ์ว่าขยะโซลาห์เซลล์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก250,000ตันในปี2559 ถึงราว5ล้านตันในปี2593และขยะโซลาห์เซลล์เกือบทั้งหมดจะถูกนำกลับมาใช้ในการติดตั้งเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานอาทิตย์ครั้งใหม่

จ้างงานโซลาร์เซลล์

จากรายงานการจ้างงานพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย Renewable Energy Job Creation in Thailand ระบุว่า การจ้างงานโดยตรงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของไทยในปีพ.ศ. 2559 จะมีประมาณ 17,758 ตำแหน่งงาน โดยร้อยละ 80 ของตำแหน่งงานทั้งหมด จะอยู่ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล (14,323 ตำแหน่งงาน) ตามมาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,588 ตำแหน่งงาน ก๊าซชีวภาพ 757 ตำแหน่งงาน และพลังงานลม 90 ตำแหน่งงานและหากนำข้อมูลกำลังการผลิตติดตั้งในโครงการพลังงานหมุนเวียน ทั้งที่เดินเครื่องแล้ว และอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าที่มีอยู่ พบว่าหากมีการดำเนินการตามสัญญาที่ผูกพันไว้จนครบถ้วนแล้วในปี พ.ศ. 2562 การจ้างงานโดยตรงของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 27,415 ตำแหน่งงานหรือเพิ่มขึ้นอีก 9,657 ตำแหน่งงานเลยทีเดียวยิ่งหากมีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจนครบถ้วน 100% ในปี พ.ศ. 2593 การจ้าง งานโดยตรงของพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2593 จะเท่ากับ 172,164 ตำแหน่งงาน (เฉลี่ยตำแหน่ง งานเพิ่มขึ้นปีละ 4,670 ตำแหน่งงาน/ปี) โดยแบ่งเป็นพลังงานชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดที่ 77,964 และ 76,620 ตำแหน่งงานตามลำดับรองลงมาคือ พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ ตามลำดับนอกเหนือจากการจ้างงานในประเทศไทย การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจนครบถ้วน 100% ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขงยังมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานโดยตรง ในปี พ.ศ. 2593 ถึงประมาณ 306,704 ตำแหน่งโดยพลังงานแสงอาทิตย์จะมีการจ้างงานมากที่สุด ประมาณ143,570ตำแหน่งงาน รองลงมาคือ พลังงานชีวมวล 89,804 ตำแหน่งงานโดยประเทศที่จะมีการจ้างงานมากที่สุดคือ ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะมีการจ้างงานโดยตรงมากกว่าประเทศไทยเล็กน้อย

นโยบายโซลาร์เซลล์

ระบบการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีใช้ในหลายประเทศ ซึ่งระบบ Net Metering เป็นมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิตัลที่จะทำการหักลบ การใช้ไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าได้ของผู้ใช้ในแต่ละเดือน และเป็นยอดสุดท้ายที่ผู้ใช้จะต้องจ่ายจริงยกตัวอย่าง บ้านแห่งหนึ่งเสียค่าไฟฟ้า เดือนพฤศจิกายนประมาณ 2,300บาท ใช้ไฟฟ้าจำนวน 548 หน่วย เมื่อบ้านดังกล่าวติดตั้งแผงโซลาห์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านได้ 355หน่วยคิดเป็นเงิน 1491บาทเมื่อติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์บนหลังคา ไฟฟ้าจะผลิตได้ในเวลากลางวันซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้าน กระแสไฟฟ้า ที่ผลิตได้ดังกล่าวจะไหลผ่านมิเตอร์เข้าสู่สายส่ง พอตอนค่ำกลับถึงบ้านก็จะใช้ไฟฟ้าจากในสายส่งซึ่งไฟฟ้าดังกล่าวก็จะไหลผ่านมิเตอร์เข้า บ้านเช่นกัน ระบบNet Meteringจึงเป็นการคำนวนหักลบจำนวนหน่วยไฟฟ้า โดยคำนวนจากจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่บ้านใช้หักลบกับจำนวนหน่วย ไฟฟ้าบ้านผลิตได้ กรณีนี้จึงนำไฟฟ้าที่ใช้จำนวน 548ลบออกจาก 355 หน่วย ดังนั้นบ้านหลังนี้จึงจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนดังกล่าวเพียงจำนวน 193หน่วย ทั้งนี้จะต้องจ่ายกี่บาทขึ้นอยู่กับราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ณ ช่วงเวลาดังกล่าว