กองทุนแสงอาทิตย์

เกี่ยวกับเรา

THAILAND SOLAR FUND

กองทุนแสงอาทิตย์เป็นการระดมทรัพยากรติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาเป็นความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาสังคม
ทั้งด้านผู้บริโภค ด้านการพัฒนาเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

รณรงค์ผลักดันให้เกิดการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในระดับครัวเรือน หน่วยงานและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคธุรกิจอันหลากหลายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปพลังงานโดยการลงมือทำจริงในพื้นที่เป้าหมายและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านพลังงานหมุนเวียนที่จะก่อให้เกิดสิทธิการเข้าถึงพลังงานสะอาดของประชาชนและมุ่งสู่เมืองยั่งยืนตามกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศอันเป็นเป้าหมายร่วมกันภายใต้การ ลงนามความร่วมมือกับสหประชาชาติ UnitedNations ประเทศไทยมีศักยภาพในการ

ผลิตพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าซึ่งนอกจากจะลดรายจ่ายจากค่าบิลไฟฟ้าในแต่ละเดือนแล้วยังเป็นการเพิ่มรายรับให้กับประชาชนในฐานะผู้ผลิตเช่นกันหากนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนถูกปลดล็อคให้ประชาชนสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ เข้าสู่สายส่งไฟฟ้าได้เป็นลำดับแรกและมุ่งให้ความสำคัญกับการลงทุนสายส่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อรองรับสู่เมืองพลังงานหมุนเวียนนอกจากนี้การลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ยังทำใหเกิดการจ้างงานจากประมาณ 2,588 ตำแหน่งงานในปี 2559 และคาดการณ์เพิ่มขึ้นประมาณ 76,620 ตำแหน่งงานในปี 2593

การสำรวจ

เป้าหมายการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา

กลุ่มที่ 1 โรงพยาบาล

การระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ให้กับโรงพยาบาล โดยเริ่มต้นที่ขนาด 30 กิโลวัตต์ เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าไฟให้กับโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อปีและหากมีมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วยจะช่วยให้ลดภาระค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียวสามารถนำเงินที่ลดค่าไฟฟ้าได้ไปใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถในการบริการประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไป เป้าหมายแรกคือการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ โรงพยาบาลภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการเฟสแรก 7 แห่ง คือ ภาคเหนือ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลท่าสองยาง จ.ตาก ภาคอีสาน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ โรงพยาบาลศรีอุดม จ.อุบลราชธานี และโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ภาคกลาง 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแก่งคอย จ.สระบุรี ภาคตะวันตก 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และ ภาคใต้ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลหลังสวน จ.ชุมพร โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุดประมาณกลางเดือนมกราคม 2562 โดยกำหนดค่าติดตั้งและอุปกรณ์ที่จะขอรับบริจาคจากประชาชนไม่เกินวัตต์ละ 35 บาท ภายใต้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ต้องใช้งบดำเนินการประมาณ 1.1 ล้านบาทต่อโรงพยาบาล รวม 7 โรงพยาบาลจะเป็นเงินที่ขอรับบริจาคทั้งสิ้น 7.7 ล้านบาท เมื่อได้รับบริจาคครบ 7.7 ล้านบาทแล้วกองทุนแสงอาทิตย์จะปิดรับบริจาคทันทีในเฟสที่ 1 ทั้งนี้เมื่อได้เงินบริจาค 1.1 ล้านบาทแรกก่อน กองทุนแสงอาทิตย์จะทยอย ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาของโรงพยาบาลแห่งแรกทันที และจะดำเนินต่อไปไปทีละแห่งจนครบทั้ง 7 แห่งโดยเร็วที่สุดตามเงินบริจาคที่ได้รับมา สำหรับช่างที่จะมาดำเนินการจะใช้วิธีการประกวดราคาแข่งขันภายใต้งบประมาณ และอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลง จึงขอเชิญชวนช่างหรือผู้ประกอบธุรกิจด้านโซลาร์เซลล์ที่ต้องการสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้เสนอชื่อและเอกสารการเสนอราคามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561

กลุ่มที่ 2 โรงเรียน SOLAR SCHOOL

โรงเรียนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสถาน ศึกษาที่ติดตั้งแผงโซลาห์เซลล์ผลิตไฟฟ้า ใช้ในกิจกรรมต่างๆ การผลักดันให้ โรงเรียนเริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ใน การผลิตไฟฟ้าใช้จึงอาจมิใช่เพียงการ ริเริ่มตั้งคำถามของเด็กๆว่า แผงเหล่า นั้นใช้ทำอะไร แต่ยังทำให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กๆคั้ง แต่เริ่มกระบวนการคิดและตัดสินใจร่วม กันในการผลักดันให้โรงเรียนเปลี่ยนสู่ การพึ่งตนเองด้านพลังงานและผลิต ไฟฟ้าใช้เอง โดยใช้หลังคาของ โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กเป็นจุดเริ่มต้นใน การเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงาน สะอาดและเป็นศูนย์เรียนรู้ของเด็กใน โรงเรียนและชุมชนอีกด้วย การเรียนรู้ของเด็กๆยังมาจากการมีส่วน ร่วมในการเข้าอบรม การติดตั้งและการ ติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสง อาทิตย์ในโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ของโรงเรียนและนำเงินดังกล่าวไปใช้ ในกิจกรรมด้านอื่น อย่างเช่น หากเฉลี่ยรายเเดือนโรงเรียน จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าราวเดือนละ 15000บาท เมื่อเริ่มต้นติดตั้งแผงโซลาห์ เซลล์จำนวนหนึ่งแล้วอาจลดค่าไฟฟ้าได้ ราว 1500บาทต่อเดือน ดังนั้นโรงเรียน ก็จะจ่ายบิลค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 13500บาท ตือเด่อน ในระยะเวลา25ปี โรงเรียน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ราว450000บาท ทั้งนี้เงินดังกล่าวใน แต่ละปีที่ประหยัดได้ยังสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กและสถาน ศึกษาที่จำเป็นอีกด้วย การลดรายจ่าย ของโรงเรียนยังหมายรวมถึงการลด ภาระของครอบครัวเด็กนักเรียนที่แบก รับค่าใช้จ่ายและค่าหน่วยกิต ทั้งนี้การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสง อาทิตย์ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับ โรงเรียนหากนโยบายด้านพลังงานของ ประเทศไทยปลดล๊อคให้สามารถใ้ช้ มิเตอร์ไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยไฟฟ้าได้ นั่นคือระบบNet Metering ก็สามารถ สร้างรายได้ให้กับโรงเรียนอีกทางหนึ่ง หากโรงเรียนสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิต เกินเข้าสู่สายส่งให้กับการไฟฟ้า

กลุ่มที่ 3 ชุมชน SOLAR COMMUNITIES

การติดตั้งแผงโซลาห์เซลล์บน หลังคาบ้านจะขยายจากบ้านเดียว สู่หลังคาบ้านอีกหลายหลังระแวก เดียวกันในชุมชน หรือที่อยู่อาศัย แบบคอนโดมิเนียม เมื่อการลงทุน ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขยาย ตัวมากขึ้นก็จะเกิดการขายไฟฟ้า จากบ้านเข้าสู่สายส่งกลางของ ชุมชนเพื่อสร้างระบบการขาย ไฟฟ้าในหมู่บ้านด้วยกัน BlockChain และสร้างรายได้ให้ กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนดังกล่าว ใน บางกรณีชุมชนที่ร่วมกันติดตั้ง โซลาห์เซลล์ยังสามารถขายไฟฟ้า ให้กับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง หรือ การขายไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่ สายส่งกลางให้กับการไฟฟ้า การติดตั้งโซลาห์เซลล์ของชุมชน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชนเพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยกัน ตั้งแต่การปรับโครงสร้างของ อาคารที่อยู่อาศัย ศึกษาศักยภาพ ของพลังงานแสงอาทิตย์และความ เป็นเจ้าของร่วมกัน รวมทั้งการ กำหนดราคาซื้อขายไฟฟ้าของ ชุมชน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในชุมชนก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วม กัน การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและการ สร้างและกระจายรายได้ให้กับผู้ที่ ลงทุนในชุมชนซึ่งบางพื้นที่จะ เป็นการลงทุนในรูปแบบสหกรณ์ และแบ่งเงินปันผลให้กับสมาชิก การกระจายศูนย์พลังงาน Energy Decenterization จากชุมชน



กลุ่มที่ 4 ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้า SOLAR FOR ALL

การออกแบบ

ทางเครือข่ายกองทุนแสงอาทิตย์จะเปิดการรับการบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของกลุ่มเป้าหมายตามจังหวัดต่างๆของประเทศไทย โดยทางเครือข่ายฯจะประสานงานและวางแผนร่วมกันกับทางพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ทางเครือข่ายจะสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนRenewable Energy และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Energy Efficiency อย่างมีนัยยะสำคัญ

 

การติดตั้ง

การร่วมกันระดมทุนเพื่อติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคากลุ่มเป้าหมายนั้น นอกจากการเปิดรับเงินบริจาคเงินทางออนไลน์แล้ว ยังเปิดรับอาสาสมัครผู้ชำนาญการทางการติดตั้ง นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่เพื่อร่วมกันติดตั้งให้สำเร็จ ทั้งนี้ทางเครือข่ายจะร่วมทะยอยติดตั้งทีละแห่งของกลุ่มเป้าหมายและกระจายทรัพยากรที่ได้รับอย่างทั่วถึงเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทุกคนร่วมเป็นเจ้าของ ดูแล บำรุงรักษาหลังจากการติดตั้ง การฝึกอบรมและจัดทำคู่มือให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้กับประชาชนอีกด้วย

 

การบำรุงรักษา

หลังจากร่วมติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาเสร็จและเริ่มการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มเป้าหมายซึ่งการติดตั้งดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้นหากเกิดปัญหาความขัดข้อง ข้อสงสัยตลอดระยะเวลาการใช้งาน ทางเครือข่ายฯจะร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาคนในพื้นที่ให้สามารถตรวจสอบและดูแลการใช้งานในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เครือข่ายกองทุนแสงอาทิตย์

  • คณะอนุกรรมการด้านบริการ สาธารณะ คณะกรรมการองค์การ อิสระเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภคภาค ประชาชน(คอบช)
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ)
  • เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค
  • สมาคมประชาสังคมชุมพร
  • มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต
  • บริษัทศูนย์บ่มเพาะวิศวกร จำกัด
  • Solarder
  • โรงเรียนศรีแสงธรรม
  • มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด)
  • เครือข่ายสลัม4ภาค
  • มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
  • เครือข่ายลันตาโกกรีน Lanta Goes Green
  • มูลนิธิสุขภาพไทย
  • กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้